วัดดัง เชียงใหม่

หัวข้อ

วัดดัง เชียงใหม่

วัดดัง เชียงใหม่ วางแผนมา เที่ยวเชียงใหม่ นอกจากไปสัมผัสอากาศหนาวๆ และธรรมชาติสวยๆ เที่ยวทุ่งดอกไม้แล้ว อย่าลืมแวะไปทำบุญเสริมสิริมงคล  วัดสายมู เชียงใหม่ มดดํา กันค่ะ ไป ขอพร  อิ่มใจ กันในทริปเดียว ได้ทั้งเที่ยวได้ทั้งบุญ ตามนี้เลยค่ะ

 

วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหารพระอารามหลวง วัดดัง เชียงใหม่ 

 

วัดดัง เชียงใหม่ วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหารพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุยวัดมีความสูงจากระดับที่ราบเชียงใหม่ราว 689 เมตรและมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,046 เมตรเป็นหนึ่งในวัดที่มีความสำคัญมากที่สุดของจังหวัดเชียงใหม่นอกจากนี้ยังประกอบด้วยจุดชมทิวทัศน์ที่สามารถมองเห็นเมืองเชียงใหม่ได้ทั้งหมดลักษณะสถาปัตยกรรมส่วนฐานเป็นฐานสูงสี่เหลี่ยมรองรับฐานเขียงย่อเก็จ 3 ชั้นซึ่งรองรับบัวคว่ำบัวลูกแก้วและบัวหงายต่อจากนั้นจะเป็นหน้ากระดานที่รองรับบัวถลาอีกทอดหนึ่ง วัดศักดิ์สิทธิ์ เชียงใหม่ ส่วนกลางองค์ระฆังเป็นบัวถลา4 ชั้น วางเรียงลดหลั่นกันไปจากบัวใหญ่ไปถึงบัวน้อยซึ่งเป็นฐานรองรับองค์ระฆัง 12 เหลี่ยม ส่วนยอดมีรัตนบัลลังก์ที่คอระฆัง ต่อจากนั้นเป็นเสาหานรองรับบัวฝาละมีรองรับปล้องไฉน 12 ปล้อง ใหญ่น้อยเรียงลดหลั่นตามลำดับเหนือปล้องไฉนเป็นปลียอด

 

วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร

 

วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอกชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ในบริเวณคูเมืองเชียงใหม่ ถนนสามล้านตำบลพระสิงห์อำเภอเมืองเชียงใหม่จังหวัดเชียงใหม่วัดพระสิงห์ฯเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของเมืองเชียงใหม่เป็นประดิษฐานพระสิงห์ (พระพุทธสิหิงค์ )พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองเชียงใหม่และแผ่นดินล้านนาพระพุทธรูปเป็นศิลปะเชียงแสนรู้จักกันในชื่อ”เชียงแสนสิงห์หนึ่ง”ประวัติ[แก้]วิหารลายคำพระพุทธสิหิงค์ภายในวิหารลายคำพญาผายูกษัตริย์เชียงใหม่ราชวงศ์มังรายโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ.1888 ขั้นแรกให้ก่อสร้างเจดีย์สูง 23 วาเพื่อบรรจุพระอัฐิของพญาคำฟูพระราชบิดา ต่อมาอีก 2 ปี จึงได้สร้างพระอารามเสนาสนวิหาร ศาลาการเปรียญ หอไตร และกุฏิสงฆ์ เมื่อเสร็จเรียบร้อย ทรงตั้งชื่อว่า”วัดลีเชียงพระ”สมัยพญาแสนเมืองมาขึ้นครองเวียงเชียงใหม่โปรดให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาจากเมืองเชียงรายมาประดิษฐานในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2483 วัดพระสิงห์ได้รับพระกรุณาโปรดให้ยกเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร5.อาหารเช้ากระตุ้นพลังสมอง

 

วัดสวนดอก

 

วัดสวนดอกสร้างขึ้นในภายในเวียงสวนดอกซึ่งเป็นเขตพระราชอุทยานในสมัยราชวงศ์มังรายโดยในปี พ.ศ.1914 (ศักราชนี้ถือตามหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ของพระรัตนปัญญาเถระ)พญากือนากษัตริย์องค์ที่6 แห่งราชวงศ์มังรายทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็นพระอารามหลวงเพื่อให้เป็นที่จำพรรษาของ “พระสุมนเถระ”ผู้ประดิษฐานพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ในแผ่นดินล้านนาและสร้างองค์พระเจดีย์เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ 1ใน2 องค์ที่พระสุมนเถระอัญเชิญมาจากสุโขทัย ในปี พ.ศ.1912 (องค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ในพระเจดีย์ในวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร)ภาพทางอากาศวัดสวนดอก พ.ศ.2429 ในสมัยราชวงศ์มังรายวัดสวนดอกเจริญรุ่งเรืองมาก แต่หลังจากสิ้นราชวงศ์มังรายบ้านเมืองตกอยู่ในอำนาจพม่า ทั้งเกิดจลาจลวุ่นวาย วัดนี้จึงกลายสภาพเป็นวัดร้างไปจนได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่อีกครั้ง ในรัชสมัยพระเจ้ากาวิละแห่งราชวงศ์ทิพย์จักรและได้รับการทำนุบำรุงจากเจ้านายฝ่ายเหนือและประชาชนเชียงใหม่มาโดยตลอดวัดสวนดอกได้รับการบูรณะครั้งสำคัญ 2 ครั้ง ครั้งแรกในปี พ.ศ.2450 เจ้าดารารัศมีพระราชชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญรวบรวมพระอัฐิเจ้านครเชียงใหม่และพระประยูรญาติมาประดิษฐานรวมกัน และต่อมาอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ.2475 เป็นการบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระวิหารโดยครูบาศรีวิชัยนักบุญแห่งล้านนา

 

วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร

 

พระธาตุเจดีย์หลวงนั้นถือว่าเป็นพระธาตุที่มีความสูงที่สุดในภาคเหนือหรือล้านนา คือ สูงประมาณ 80 เมตร เมตร ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างประมาณด้านละ 60 เมตร ถูกสร้างขึ้นในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 20ถือว่าเป็นเจดีย์ที่มีความสำคัญที่สุดของเมืองเชียงใหม่วัดเจดีย์หลวง เชียงใหม่พระธาตุเจดีย์หลวงนั้นถูกสร้างขึ้นในในรัชสมัยพญาแสนเมืองมา (พ.ศ. 1928 – 1945) กษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์มังรายซึ่งเป็นกษัตริย์ที่ปกครองเมืองเชียงใหม่ในขณะนั้น สร้างขึ้นเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้พญากือนาพระราชบิดา ซึ่งมีตำนานเล่ามาว่า พญากือนาซึ่งได้สวรรคตไปแล้วได้ปรากฏตัวแก่พ่อค้าชาวเชียงใหม่ที่เดินทางไปค้าขายที่พม่าให้มาบอกว่าแก่พญาแสนเมืองมาผู้เป็นโอรสว่า ให้สร้างเจดีย์ไว้ท่ามกลางเวียงให้สูงใหญ่พอให้คนที่อยู่ไกล 2,000 วา สามารถมองเห็นได้แล้วอุทิศบุญกุศลเหล่านี้ให้แก่พญากือนาเพื่อให้พญากือนานั้นสามารถไปเกิดในเทวโลกได้ แต่พญาแสนเมืองมาเสด็จสวรรคตเสียก่อนพระนางติโลกจุฑาเทวีผู้เป็นมเหสีได้สืบทอด เจตนารมณ์สร้างต่อจนเสร็จในรัชสมัยพญาสามฝั่งแกน ใช้เวลาสร้าง 5 ปีต่อมาได้มีการปฏิสังขรณ์ในสมัยพญาติโลกราช (พ.ศ. 1984 – 2030) พระองค์โปรดให้หมื่นด้ามพร้าคต นายช่างใหญ่ทำการปฏิสังขรณ์โดยมีพระมหาสวามีสัทธัมกิติ เจ้าอาวาสองค์ที่ 7 ของวัดโชติการาม (วัดเจย์หลวง)เป็นกำลังสำคัญในการควบคุมดูแล และประสานงาน การปฏิรูปและก่อสร้างครั้งนี้ได้สร้างขยายเจดีย์ให้ใหญ่กว่าเดิมใช้เวลาในการก่อสร้าง 3 ปี จึงแล้วเสร็จในสมัยมหาเทวีจิรประภา รัชกาลที่ 15แห่งราชวงศ์มังราย เกิดพายุฝนตกหนัก แผ่นดินไหวพระมหาเจดีย์หลวงได้พังทลายลงมาเหลือเพียงครึ่งองค์จากนั้นก็ถูกปล่อยทิ้งร้างไปนานกว่า 4 ศตวรรษ พระมหาเจดีย์หลวงที่เห็นปัจจุบันกรมศิลปกรเพิ่งจะบูรณปฏิสังขรณ์เสร็จไปเมื่อ พ.ศ.2535

 

บทความที่แนะนำ